พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 4 - 10 กุมภาพันธ์ 2554

ข่าวทั่วไป Friday February 4, 2011 14:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 กุมภาพันธ์ 2554 - 10 กุมภาพันธ์ 2554

ภาคเหนือ

มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ ในช่วงวันที่ 4-5 ก.พ. ตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส ส่วนตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สภาพอากาศยังคงหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรระวังอุบัติเหตุขณะขับขี่ยานพาหนะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา สำหรับในช่วงวันที่ 6-10 ก.พ. เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับผลผลิตที่ตากไว้กลางแจ้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-5 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้า ตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส ส่วนตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้น และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระมัดระวังอันตรายในการขับขี่ยานพาหนะในบริเวณที่มีหมอกหนา ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง สำหรับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้วสามารถนำออกผึ่งแดดเพื่อลดความชื้นได้

ภาคกลาง

อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรระมัดระวังอันตรายในการขับขี่ยานพาหนะในบริเวณที่มีหมอกหนา สำหรับไม้ผลที่กำลังติดผลอ่อน ชาวสวนควรดูแลให้น้ำในอัตราที่เหมาะสม รวมทั้งคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อสงวนความชื้นในดิน

ภาคตะวันออก

มีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 7-10 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับผลผลิตของพืชไร่และผลิตภัณฑ์จากทะเลที่ตากไว้กลางแจ้ง สำหรับสภาพอากาศโดยทั่วไปแห้ง อาจส่งผลให้ศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆ ระบาดทำลายไม้ผลที่กำลังออกดอกและติดผลอ่อน ทำให้ผลผลิตลดลง เกษตรกรควรป้องกันกำจัดศัตรูพืชดังกล่าว

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ตลอดช่วง บริเวณทางตอนบนของภาคมีฝนตกน้อย สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรจัดหาน้ำเพิ่มเติมแก่พืชให้สอดคล้องกับระยะเจริญเติบโต รวมทั้งระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชผักและไม้ผล สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนที่ตกในระยะนี้ไว้ใช้ในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ