พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 7 มีนาคม 2554 - 13 มีนาคม 2554

ข่าวทั่วไป Tuesday March 8, 2011 05:23 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 07 มีนาคม 2554 - 13 มีนาคม 2554

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-11 มี.ค. อากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียสโดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ที่กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเอง และสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน ส่วนเกษตรกรที่มีแหล่งเก็บกักน้ำเป็นของตนเองควรใช้น้ำอย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำ ให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะมีน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก ในบางพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 มี.ค. อากาศร้อนและฟ้าหลัว ในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกร ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และไม่ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฝนฟ้าคะนอง สภาพอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงบ่อยในระยะนี้ เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อไม่ให้เจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรปรับโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความเครียดของสัตว์เลี้ยง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก ในบางพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 มี.ค. อากาศร้อนและฟ้าหลัว ในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกร ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และต้นไม้ใหญ่ ขณะฝนฟ้าคะนอง ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่มีปริมาณน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง สำหรับอากาศที่ร้อนจัด ในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยฉีดน้ำบริเวณหลังคา หรือนำวัสดุ ชุ่มน้ำวางไว้ในโรงเรือน

ภาคตะวันออก

มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งตลอดช่วง อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการหักโค่นเมื่อมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ระยะนี้แม้มีฝนตกแต่ส่วนใหญ่ปริมาณฝนมีน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ตลอดช่วง สำหรับบริเวณที่มีฝนน้อยสภาพอากาศแห้ง ประกอบกับยางพาราอยู่ในระยะผลัดใบ ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวป้องกันไฟรอบบริเวณสวน ส่วนมังคุดที่อยู่ในระยะแตกใบอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกัน การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ