พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้าระหว่าง 24 ตุลาคม 2554 - 30 ตุลาคม 2554

ข่าวทั่วไป Tuesday October 25, 2011 08:10 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 24 ตุลาคม 2554 - 30 ตุลาคม 2554

ภาคเหนือ

ช่วงวันที่ 24-25 ต.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 26-30 ต.ค. มีฝนเป็นแห่งๆ ในระยะแรก และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส สูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% - ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว สภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย - ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อแอและเป็นโรคได้ง่าย - ส่วนไม้ผล เกษตรกรควรงดให้น้ำ เพื่อให้ต้นพักตัวเตรียมแตกตาดอก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด และหนอนชนิดต่างๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 24 ต.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 25-30 ต.ค. มีฝนเป็นแห่งๆ ในระยะแรก และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ในช่วงต้นฤดูหนาวอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หากร่างกายอ่อนแอจะทำให้เจ็บป่วยง่าย - สำหรับข้าวนาปีที่อยู่ในระยะตั้งท้องออกรวง ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยเฉพาะ หนอนกระทู้คอรวง ซึ่งจะกัดกินคอรวงทำให้ข้าวเสียหายผลผลิตลดลง - ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ช่วงวันที่ 24-26 ต.ค. มีฝนเป็นแห่งๆ ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80% - ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลด สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง - สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้เป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ - อนึ่งบริเวณที่ยังคงมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ และป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดงและน้ำกัดเท้า

ภาคตะวันออก

ช่วงวันที่ 24-25 ต.ค. มีฝนเป็นแห่งๆ ถึงกระจายอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-30 ต.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % - ระยะนี้ชาวสวนผลไม้ควรตัดแต่งกิ่งไม้ผล โดยเฉพาะกิ่งน้ำค้าง กิ่งที่ไขว้กัน และให้ปุ๋ย เพื่อให้ต้นพักตัวเตรียมแตกตาดอกในระยะต่อไป - สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม หากมีน้ำขัง เกษตรกรควรรีบระบายออกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้ - ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพราะจะทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 24-25 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณตั้งแต่ชุมพรลงไป และในช่วงวันที่ 26-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% - ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 24-25 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายและในช่วงวันที่ 26-30 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% - ระยะนี้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น ส่วนทางฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณฝนลดลง ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรเฝ้าระวัง สภาวะน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก - สำหรับไม้ผลที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะปริมาณของฝนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้คุณภาพของผลไม้ลดลง - สำหรับยางพารา ชาวสวนควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคหน้ากรีดยาง และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น - ในช่วงวันที่ 25-30 ต.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควร เพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ได้ให้ไว้ในภาคใต้ฝั่งตะวันออก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ