พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 04 พฤศจิกายน 2554 - 10 พฤศจิกายน 2554

ข่าวทั่วไป Monday November 7, 2011 06:53 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 พฤศจิกายน 2554 - 10 พฤศจิกายน 2554

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกในระยะแรก ต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร และควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันออกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งทางตอนบนของภาค และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ย. มีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากสภาวะดังกล่าว และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนบริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาว ผู้ที่จุดไฟผิงให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายควรดูแลดับไฟให้สนิททุกครั้ง เพราะช่วงนี้ลมพัดแรงอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย
  • บริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งที่จะถึงนี้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5-6 พ.ย. อากาศเย็นทางตอนบนของภาค กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ส่วนมากทางตอนล่างของภาค หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งทางตอนบนของภาค และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • ในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. มีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากสภาวะดังกล่าว
  • เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และระวังอันตรายจากสัตว์พิษที่มากับน้ำ
  • พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมและระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 4-5 พ.ย. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้จะมีฝนตก เกษตกรกรควรระวังความเสียหายกับผลผลิตทางการเกษตรที่ตากไว้กลางแจ้ง
  • พื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทาน บริเวณที่มีฝนตกเกษตรกรควรกักเก็บสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 4-5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

-ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 4-5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

  • ในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง พื้นที่การเกษตรในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรกำจัดวัชพืช ดูแลสวนให้โปร่ง เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ