พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 16 พฤศจิกายน 2554 - 22 พฤศจิกายน 2554

ข่าวทั่วไป Thursday November 17, 2011 06:18 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 16 พฤศจิกายน 2554 - 22 พฤศจิกายน 2554

ภาคเหนือ

-ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย โดยทางตอนบนของภาคอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 15-19 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่าง อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอย อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 60-70 %

-ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่น แก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง รวมทั้งระวังโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

-บริเวณที่สภาพอากาศแห้ง ชาวสวนผลไม้ควรระวัง และป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ชนิดต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม

-ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควมคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน เลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส และในช่วงวันที่ 19-22 พ.ย. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 65-75 %

-สำหรับบริเวณที่อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ ความอบอุ่นแก่ตนเอง อย่างเพียงพอ และดูแลสุขภาพ ให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

-ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน หากเกษตรกรต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง

-ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตหากพบตัวที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคกลาง

-ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. อากาศเย็นกับมีฝนเล็กน้อยบางแห่งและอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 65-75 %

-ระยะนี้แม้บริเวณพื้นที่น้ำท่วมจะลดลงแต่ยังคงมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรก หากมีความจำเป็นควรสวมรองเท้าบูต เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะโรคฉี่หนู ซึ่งจะทำให้เจ็บป่วยได้

-สำหรับพื้นที่การเกษตรที่สภาวะน้ำท่วมลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวน และแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม

ภาคตะวันออก

-ในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. มีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. อากาศเย็นกับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 65-75 %

-บริเวณที่สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไร ชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชทรุดโทรม ส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย

-สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน และมีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงหน้าแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. สัมพัทธ์ประมาณ 70-80 %

-สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยที่เคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อนควรเฝ้าระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

-ระยะนี้เกษตกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก อย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ซึ่งจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นตายได้ -ส่วนพืชสวนที่อยู่ในระยะแตกใบอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชเสียหาย

-อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เกษตรกร ที่ทำประมงชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมง ควรเพิ่ม ความระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

-ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 16-19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 20-22 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70-80 %

-สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยที่เคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อนควรเฝ้าระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

-ระยะนี้เกษตกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก อย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ซึ่งจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นตายได้

-ส่วนพืชสวนที่อยู่ในระยะแตกใบอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชเสียหาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ