พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 25 พฤศจิกายน 2554 - 01 ธันวาคม 2554

ข่าวทั่วไป Monday November 28, 2011 06:49 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 25 พฤศจิกายน 2554 - 01 ธันวาคม 2554

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 25-28 พ.ย. ตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิจะลดลงได้ 3-6 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 10-30กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ย.- 1 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยจะมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • ระยะนี้อุณหภูมิจะลดลง 3-6 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายอย่างเพียงพอ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรให้ความอบอุ่น โดยเพิ่มดวงไฟในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอ และเป็นโรคได้
  • สำหรับบริเวณยอดดอยจะมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้ เกษตรกรควรป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 25-28 พ.ย. ตอนบนของภาคอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-17 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิจะลดลงได้ 2-4 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ย.-1 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 %

  • เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยง ส่วนผู้ที่จุดไฟผิงเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายควรดับไฟให้สนิททุกครั้ง เพราะช่วงนี้มีลมพัดแรงอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 25-28 พ.ย. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลงได้ 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ย.-1 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 %

  • ระยะนี้อุณหภูมิจะลดลงจนมีอากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีก ควรทำแผงกำบังลมหนาว และเพิ่มความอบอุ่นในโรงเรือน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27 พ.ย.-1 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %

  • ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง ชาวสวนผลไม้ควรป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นทรุดโทรม ส่งผลต่อการแตกตาดอกในระยะต่อไป
  • เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรวางแผนจัดการน้ำที่มีอยู่ให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 27 พ.ย.-1 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
  • ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 27 พ.ย.-1 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
  • ในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย. จะยังคงมีฝนตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสียงภัยตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร
  • ในช่วงวันที่ 25-26 พ.ย.คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง ผู้ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรงที่จะซัดเข้าสู่ฝั่ง ส่วน ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ