พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 09 มกราคม 2555 - 15 มกราคม 2555

ข่าวทั่วไป Tuesday January 10, 2012 07:10 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 09 มกราคม 2555 - 15 มกราคม 2555

ภาคเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 9-12 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ในระยะแรก ต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอย มีอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. มีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%
  • สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรคลุมพื้นที่เพาะปลูก ด้วยวัสดุสีเข้มเพื่อรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนบางพื้นที่อาจมีน้ำค้างแข็ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • ในระยะนี้จะมีฝนบางพื้นที่ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
  • เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำแก่พืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้งขึ้น เพื่อลดการสูญเสียน้ำ และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 9-12 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย และมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู มีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. มีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%
  • สำหรับบริเวณยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดเกษตรกรควรคลุมบริเวณพื้นที่เพาะปลูกด้วยวัสดุสีเข้มเพื่อรักษาอุณหภูมิดิน
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากช่วงนี้และระยะต่อไปปริมาณฝนจะมีน้อย
  • อนึ่งสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ ประกอบกับบางช่วงอาจมีลมแรง ผู้ที่ปลูกยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังจากจุดไฟเพื่อใช้งาน และทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก

ภาคกลาง

  • ในช่วงวันที่ 9-12 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. มีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%
  • สำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ เกษตรกรควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้
  • ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยได้มาก ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรจึงควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต อย่างเหมาะสมเพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืช ชะงักการเจริญเติบโตส่งผลให้ผลผลิตลดลง

ภาคตะวันออก

  • ในช่วงวันที่ 9-12 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค.มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากขาดน้ำจะทำให้การติดผลลดลง และหลีกเลี่ยงการฉีดยาฆ่าแมลงในระยะดอกบาน เพราะยาฆ่าแมลงจะไปทำลายแมลงที่มาช่วยผสมเกสร
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งประกอบกับปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน
  • ระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการการใช้น้ำที่มีอยู่ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกใมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-90%
  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแล รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกร ควรติดตามเฝ้าระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก และวางแผนอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง ตลอดจนเตรียมอาหาร และน้ำดื่มเอาไว้ให้พร้อม
  • ส่วนพืชผลทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน และผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำหากเติบโตได้ขนาดควรทยอยจับขายไปก่อนเพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
  • อนึ่งในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค.บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

  • ฝั่งตะวันตกใมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาคโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%
  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแล รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกร ควรติดตามเฝ้าระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก และวางแผนอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง ตลอดจนเตรียมอาหาร และน้ำดื่มเอาไว้ให้พร้อม
  • ส่วนพืชผลทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน และผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำหากเติบโตได้ขนาดควรทยอยจับขายไปก่อนเพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ