พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 01 กุมภาพันธ์ 2555 - 07 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวทั่วไป Thursday February 2, 2012 07:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 01 กุมภาพันธ์ 2555 - 07 กุมภาพันธ์ 2555

ภาคเหนือ

-ในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอย มีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ทางตอนบนอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

-ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

-สำหรับในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ.จะมีฝนฟ้าคะนอง เป็นแห่งๆถึงกระจาย เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

-ระยะนี้ในบางพื้นที่อาจมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่ และพืชผัก หากพบโรคดังกล่าวควรรีบกำจัด ก่อนจะระบาดเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งจะทำให้ยากต่อการควบคุม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-ในช่วงวันที่ 1-3 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู มีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู มีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

-สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหายในโรงเก็บ

  • แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณความชื้นในดินยังมีน้อย เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุ เหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควร ดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากขาดความสมดุลจะทำให้ สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

-ในช่วงวันที่ 1-3 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ อากาศเย็นทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำแก่พืชครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อลดการสูญเสียน้ำ และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • สำหรับ เกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้พืชในระยะเจริญเติบโต เพราะหากมีน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
  • ระยะนี้มีฝนน้อย ประกอบกับการระเหยของน้ำมีสูงทำให้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อสงวนความชื้นในดิน

ภาคตะวันออก

-ในช่วงวันที่ 1-3 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • ระยะนี้แม้มีฝนตกแต่ปริมาณน้อย สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ

-เนื่องจากฝนที่ตกในระยะนี้ ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรควรลดความชื้น ก่อนนำเข้าโรงเก็บเพื่อป้องกันผลผลิตเน่าในโรงเก็บ

-เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำที่ เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 1-5 ก.พ. อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมาลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมาลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%
  • ในช่วงที่มีฝนตก ซึ่งอาจทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก เกษตรกรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร

-สำหรับไม้ผล เช่น มังคุด และทุเรียน ที่อยู่ในระยะแตกใบอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม

-ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา หากพบควรรีบ ควบคุม ก่อนจะระบาดเป็นบริเวณกว้าง

-ในช่วงวันที่1-5 ก.พ. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

  • ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
  • ในช่วงที่มีฝนตก ซึ่งอาจทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก เกษตรกรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร

-ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา หากพบควรรีบ ควบคุม ก่อนจะระบาดเป็นบริเวณกว้าง

-ในช่วงวันที่1-5 ก.พ. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ