พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 12 มีนาคม 2555 - 18 มีนาคม 2555

ข่าวทั่วไป Tuesday March 13, 2012 06:53 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 12 มีนาคม 2555 - 18 มีนาคม 2555

ภาคเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 12-15 มี.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส โดยมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 มี.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 15-22 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%
  • ในช่วงวันที่ 12-15 มี.ค.จะมีฝนฟ้าคะนอง กับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับไม้ผล โดยผูกยึดลำต้นและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก และต้นโค่นล้ม นอกจากนี้ควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง
  • สำหรับไม้ดอกและผักชนิดต่างๆที่กำลังเจริญเติบโต เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมและคลุมโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อสงวนความชื้นดิน รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-ในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งและอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 14-18 มี.ค. มีอุณหภูมิสูงขึ้น กับฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

-เนื่องจากในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง เกษตรกรควรดูแลอาคารบ้านเรือนและโรงเรือนเก็บผลผลิตทางการเกษตรให้แข็งแรงเพื่อป้องกันความเสียหายไว้ด้วย

  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ และดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันสัตว์เครียดเนื่องจากสภาพอากาศร้อน

ภาคกลาง

  • ในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 14-18 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%
  • ในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค.มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูง ขณะฟ้าคะนองและลมแรง
  • ระยะนี้อากาศร้อน เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยฉีดน้ำบริเวณหลังคา เพื่อป้องกันสัตว์เครียด จนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอด้วย

ภาคตะวันออก

  • ในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 14-18 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
  • ในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ผูกยึด และค้ำยันลำต้นและกิ่งของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันต้นโค่นล้ม และกิ่งฉีกหัก
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 14-18 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
  • สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีฝนน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น ผักและพืชไร่ชนิดต่างๆ จะได้รับผลกระทบจากสภาพความแห้งแล้งก่อนพืชชนิดอื่นๆ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

  • ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ส่วนในช่วงวันที่ 14-18 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
  • สำหรับตอนล่างของภาคยังคงมีฝนตก ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินใบอ่อนและยอด ทำให้ต้นทรุดโทรม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ