ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ
ระหว่าง 23 มีนาคม 2555 - 29 มีนาคม 2555
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 23 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-29 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%
- ในช่วงวันที่ 24- 29 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ เกษตรกรควรผูกโยงและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกัน การฉีกหักและโค่นล้มเมื่อมีลมแรง
- เนื่องจากอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันมากระหว่างกลางคืนและกลางวัน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 23-25 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 26-29 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ส่วนมากทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%
- ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตราย โดยไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้าง หรืออาคารที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ตลอดจนป้ายโฆษณาสูงๆ เมื่อมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมแรง
- ฝนที่ตกในระยะนี้จะช่วยลดความร้อนอบอ้าวลงบ้าง สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเพื่อใช้สำหรับการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 23 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-29 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%
- ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกเกิดขึ้นได้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูง ขณะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมแรง
- เนื่องจากช่วงนี้ในตอนกลางวันจะมีอากาศร้อน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ และดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันสัตว์เครียดเนื่องจากสภาพอากาศร้อน
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 23-26 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 27-29 มี.ค. ทางตอนบนของภาคอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
- ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกเกิดขึ้นได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ตลอดจนค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลที่กำลังให้ผลผลิตให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง
- ระยะนี้แม้ว่าจะมีฝนตกแต่ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตและไม้ผลที่กำลังให้ผลผลิต รวมทั้งคลุมดินบริเวณโคนต้นเพื่อสงวนความชื้นในดิน
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
- ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 23 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24-29 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-85%
- ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-85%
- ทางตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออก จะมีฝนตกน้อยอาจไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ชาวสวนควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่ไม้ผลที่กำลังออกดอกและติดผลอ่อน เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตลดลง
- ในช่วงวันที่ 24-29 มี.ค. ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นทั้งสองฝั่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้สำหรับการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
- ในช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. จะมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74