พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 09 เมษายน 2555 - 15 เมษายน 2555

ข่าวทั่วไป Tuesday April 10, 2012 07:26 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 09 เมษายน 2555 - 15 เมษายน 2555

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-75%

  • เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงโดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง
  • ระยะนี้แม้ว่าจะมีฝนตก แต่ปริมาณไม่มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืช โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตชะงักการเจริญเติบโต และร่วงหล่น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-12 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-75%

  • ในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง รวมทั้งไม่เข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และต้นไม้ใหญ่ ขณะมีฝนฟ้าคะนอง
  • สภาพอากาศร้อนอบอ้าว ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก รวมทั้งควรจัดหาน้ำดื่มให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วยได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-75%

  • ในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร
  • ระยะนี้อากาศร้อนและแสงแดดจัด ทำให้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวหน้าดิน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 10-12 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวทางตอนบนของภาค มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก เฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป กับมีลมกระโชก แรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก เฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • ในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่กำลังเจริญเติบโต และช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย แต่ชาวสวนผลไม้ควรป้องกันความเสียหายจากลมกระโชกแรง โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง
  • บริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรเก็บกักสำรองน้ำไว้ใช้ในระยะต่อไป

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 11-12 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-85%
  • ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจายตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-85%
  • ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่กำลังเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกที่ปริมาณฝนในระยะที่ผ่านมาไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช
  • บริเวณตอนล่างของภาคที่มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนัก ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ