พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 เมษายน 2555 - 17 เมษายน 2555

ข่าวทั่วไป Thursday April 12, 2012 07:17 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 เมษายน 2555 - 17 เมษายน 2555

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-13 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-75%

  • ระยะนี้อาจมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรตรวจสอบสภาพวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยัน กิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพความมั่นคงแข็งแรง
  • ในช่วงนี้แม้ว่าจะมีฝนตก แต่ปริมาณไม่มาก เกษตรกร ที่ต้องการปลูกพืชรุ่นใหม่ควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอหรือความชื้นในดินมีเพียงพอ แล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-12 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-75%

  • ในช่วงที่ในช่วงวันที่ 13-17 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว และไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้ง รวมทั้งเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่ง ขณะฝนฟ้าคะนอง
  • เนื่องจากระยะนี้อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 11-13 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-75%

  • ในช่วงวันที่ 13-17 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองและ ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งซ่อมแซมโรงเรือนสำหรับการเกษตรให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง
  • สำหรับอากาศที่ร้อน เกษตรกรควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยฉีดน้ำบริเวณหลังคาโรงเรือน หรือเพิ่มความชื้นในโรงเรือนโดยนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในโรงเรือน รวมทั้งจัดหาน้ำกินให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 11-12 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • สำหรับบางช่วงจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง
  • ระยะนี้บางพื้นที่จะมีฝนตก แต่ปริมาณและการกระจายยังไม่เพียงพอ และสม่ำเสมอ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชควรรอให้ดินมีความชื้นเพียงพอ และมีฝนตกสม่ำเสมอแล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรเก็บกวาดผลที่ร่วงหล่นไปกำจัดให้ถูกวิธี เพื่อเป็นการตัดวงจรของโรคและศัตรูพืช

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 11-12 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-85%

  • ฝนที่ตกจะเป็นผลดีกับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก และพืชที่กำลังเจริญเติบโต แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
  • ส่วนบริเวณที่มีฝนตกหนัก ชาวสวนควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งอาจจะระบาดต่อเนื่องไปถึงในหน้าฝน และจะป้องกันรักษายาก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 11-12 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-85%

  • ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรควรเตรียมทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกเมื่อมีฝนตกหนักในระยะต่อไป
  • ฝนที่ตกจะเป็นผลดีกับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก และพืชที่กำลังเจริญเติบโต แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
  • ส่วนบริเวณที่มีฝนตกหนัก ชาวสวนควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งอาจจะระบาดต่อเนื่องไปถึงในหน้าฝน และจะป้องกันรักษายาก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ