พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 พฤษภาคม 2555 - 17 พฤษภาคม 2555

ข่าวทั่วไป Monday May 14, 2012 07:25 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 พฤษภาคม 2555 - 17 พฤษภาคม 2555

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในวันที่ 15-17 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ในช่วงวันที่ 15-17 พ.ค. จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ราดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับลิ้นจี่ที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว ชาวสวนควรหมั่นสังเกต หากพบผลที่แตกหรือเน่า ควรปลิดทิ้งเพื่อป้องกันการลุกลามไปยังผลอื่น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ระยะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชไร่ควรคลุกเมล็ดพันธุ์หรือชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อราและควรเตรียมแปลงเพาะปลูกเมื่อมีความชื้นดินเพียงพอสามารถลงมือเพาะปลูกได้

-ในช่วงวันที่ 15-17 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงต่อไป

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจายและมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ระยะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน เกษตรกรที่ต้องการพืชไร่ ควรเตรียมแปลงเพาะปลูกเมื่อมีความชื้นดินเพียงพอสามารถลงมือเพาะปลูกได้
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และควรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกั้นขอบบ่อเอาไว้ให้พร้อม เพื่อลดความเสียหายเมื่อมีฝนตกหนัก

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ในช่วงนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น ไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว ชาวสวนควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการกองสุมผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นไว้ในสวน เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมของโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • ชาวสวนยางพาราควรดูแลสภาพสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายและมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • เนื่องจากระยะนี้ทางภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกชุกชาวสวนผลไม้ควรดูแลสภาพสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

-ในช่วงวันที่ 15-17 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรทำทางระบายเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเวลาฝนตกหนัก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ได้ให้ไว้ในภาคใต้ฝั่งตะวันออกแล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ