พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 มิถุนายน 2555 - 10 มิถุนายน 2555

ข่าวทั่วไป Wednesday June 6, 2012 07:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 มิถุนายน 2555 - 10 มิถุนายน 2555

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • ในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. จะมีฝนตกชุกหนาแน่น เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านควรระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
  • ผู้ที่ปลูกพืชไร่ในระยะนี้ควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก และเลือกพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สำหรับลิ้นจี่ที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว ชาวสวนควรป้องกันการระบาดของโรคผลเน่า

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพดและพืชตระกูลถั่ว ควรป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง
  • เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ใช้ในระยะที่มีฝนน้อย

ภาคกลาง

-ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ระยะนี้มีฝนตกชุก เกษตรกรควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก อย่าให้อับชื้น เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรค
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพราะจะทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน

ภาคตะวันออก

  • มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านควรระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
  • ไม้ผลที่เก็บผลผลิตแล้ว ชาวสวนควรทำการตัดแต่งกิ่ง และเก็บผลที่หล่นตามพื้นไปทำลาย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนชาวเรือและชาวประมงในอ่าวไทยตอนบนควรระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ ตลอดช่วง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ระยะนี้ภาคใต้ทั้งสองฝั่งมีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยกำจัดวัชพืชบริเวณสวนให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดังกล่าว
  • ในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยทางฝั่งตะวันตกควรระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
  • อนึ่ง ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันควรระมัดระวังอันตรายในเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งตลอดช่วง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ