พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 06 มิถุนายน 2555 - 12 มิถุนายน 2555

ข่าวทั่วไป Thursday June 7, 2012 10:45 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 06 มิถุนายน 2555 - 12 มิถุนายน 2555

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกของภาค ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

-ระยะนี้จะมีฝนตกชุก สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะให้ผลผลิต เกษตรกรควรเก็บกวาดผลที่ร่วงหล่น เน่าเสีย ไปกำจัดให้ถูกวิธีไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

-ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้น แฉะ เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 6-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

-สำหรับพืชไร่ที่ปลูกในระยะนี้ เช่น ข้าวโพด อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นต้น เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน

-ส่วนข้าวนาปีที่อยู่ระยะหว่านกล้า ชาวนาไม่ควรหว่านแน่นจนเกินไป เพราะอาจทำให้มีความชื้นสะสมในแปลงกล้า ซึ่งอาจนำมาซึ่งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ ที่มักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 6-9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกของภาค ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

-สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน

-ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลซ่อมแซมหลังคาโรงเรือน เลี้ยงสัตว์อย่าให้รั่วซึม และควรยกพื้นคอกสัตว์ให้สูงขึ้น เพื่อไม่ให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะป้องกันสัตว์เปียกชื้นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หากพบตัวที่เป็นโรคควรรีบแยกออกจากกลุ่ม และทำการรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ป่วยโดยตรง โดยควรสวมถุงมือทุกครั้ง

-ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพราะสัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทัน และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 6-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 มิ.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

-ระยะนี้จะมีฝนตกชุก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืช ซึ่งจะทำให้พืชเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา

-สำหรับสวนผลไม้ ชาวสวนไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไว้บริเวณโคนต้นพืช เพราะจะเป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช

-ช่วงนี้บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 6-9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 มิ.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

-ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรเฝ้าระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

-พื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคเส้นดำ เป็นต้น

-ส่วนชาวสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

-อนึ่ง ระยะนี้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 6-9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

-ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรเฝ้าระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

-พื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคเส้นดำ เป็นต้น

-อนึ่ง ระยะนี้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ