พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 02 กรกฎาคม 2555 - 08 กรกฎาคม 2555

ข่าวทั่วไป Wednesday July 4, 2012 07:15 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 02 กรกฎาคม 2555 - 08 กรกฎาคม 2555

ภาคเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5—8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณตอนบน และด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. จะมีฝนตกชุกหนาแน่นและฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ตามที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานและมีแหล่งเก็บกักน้ำ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในระยะที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 5- 8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. เกษตรกรทางตอนบนของภาคที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
  • ไม้ผลที่เก็บผลผลิตเสร็จแล้ว ชาวสวนควรทำการตัดแต่งกิ่ง โดยตัดกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ กิ่งที่เป็นโรคหรือแมลงทำลาย รวมทั้งเก็บผลที่หล่นตามพื้นไปทำลาย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรูพืช

ภาคกลาง

  • ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 5- 8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%
  • ระยะนี้แม้ว่าจะมีฝนตก แต่ปริมาณไม่มาก เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชไร่และพืชผักอย่างเหมาะสม หากขาดน้ำพืชจะชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งคลุมดินบริเวณโคนต้นเพื่อสงวนความชื้นในดิน นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของหนอนที่จะกัดกินผลผลิตในแปลงปลูกเสียหาย

ภาคตะวันออก

  • ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5-8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ตามที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
  • ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกชุก ผู้ที่ต้องการปลูกพืชไร่และพืชผักในระยะนี้ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อราก่อนปลูก
  • ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 2- 4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 5- 8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%
  • ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5- 8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ทางฝั่งตะวันออกจะยังคงมีฝนตกไม่มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต สำหรับบริเวณที่ไม่มีฝนตกติดต่อกันในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย
  • ไม้ผลที่อยู่ในระยะให้ผลผลิต ชาวสวนควรเก็บกวาดผลที่ร่วงหล่นไปกำจัด ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรูพืช
  • ในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ