พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 09 กรกฎาคม 2555 - 15 กรกฎาคม 2555

ข่าวทั่วไป Tuesday July 10, 2012 07:09 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 09 กรกฎาคม 2555 - 15 กรกฎาคม 2555

ภาคเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 9-10, 14-15ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ในช่วงวันที่ 9-10, 14-15 ก.ค. จะมีฝนในหลายพื้นที่ เกษตรกรที่มีแหล่งน้ำสำรองควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ในระยะต่อไปด้วย
  • เนื่องจากในช่วงวันที่ 11-13 ก.ค.ปริมาณฝนจะลดลง เกษตรกรผู้ที่ปลูกพืชไร่และผักชนิดต่างๆ ควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติม เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-ในช่วงวันที่ 9-10, 14-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ในช่วงวันที่ 9-10, 14-15 ก.ค. ก.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค สภาพอากาศชื้นอาจทำให้สัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย นอกจากนี้ควรหมั่นสำรวจโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่ว เพื่อป้องกันฝนสาด
  • สำหรับพืชไร่ที่กำลังเจริญเติบโต โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของภาค ซึ่งมีฝนตกน้อยในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติม รวมทั้งป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยชนิดต่างๆ

ภาคกลาง

-ในช่วงวันที่ 9-10, 14-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ในช่วงวันที่ 9-10, 14-15 ก.ค.จะมีฝนตกเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ในระยะต่อไปด้วย

-เนื่องจากในช่วงวันที่ 11-13 ก.ค. ฝนจะลดลง เกษตรกรที่ปลูกผักและพืชไร่ชนิดต่างๆ ควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆด้วย

ภาคตะวันออก

-ในช่วงวันที่ 9-10, 14-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ในช่วงวันที่ 9-10, 14-15 ก.ค.จะมีฝนตกชุก เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
  • ในช่วงที่ฝนตกชุก ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โล่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 9-10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 11-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำและโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โดยดูแลสวนยางให้โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันการระบาดของโรคดังกล่าว

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

  • ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 9-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ในช่วงวันที่ 9-13 ก.ค. จะมีฝนตกชุกโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำและโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โดยดูแลสวนยางให้โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันการระบาดของโรคดังกล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ