พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 กรกฎาคม 2555 - 17 กรกฎาคม 2555

ข่าวทั่วไป Thursday July 12, 2012 07:10 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 กรกฎาคม 2555 - 17 กรกฎาคม 2555

ภาคเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ช่วงนี้จะมีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจาย อาจทำให้สภาพน้ำในกระชังปลา ริมแม่น้ำเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เกษตรกรจึงควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่สัตว์น้ำด้วย
  • สำหรับนาข้าว เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ช่วงนี้มีฝนตกชุก โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. ส่วนมากทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังในที่ลุ่มได้ เกษตรกรจึงควรจัดทำทางระบายน้ำ ให้สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก ขณะมีฝนตกหนัก
  • ส่วนสัตว์เลี้ยง เกษตรกรควรดูแลอย่าให้อยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

  • ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค..จะมีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลไห้ ผลผลิตลดลง
  • ส่วนผู้เลี้ยงสัตว์น้ำควรเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อ และอุปกรณ์สำหรับระบายน้ำให้พร้อมใช้งาน เพื่อลดความเสียหายเมื่อมีน้ำเหนือไหลบ่าในระยะต่อไป

ภาคตะวันออก

  • ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. จะมีฝนตกชุก โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากน้ำท่วม
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู?ในที่ลุ?ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป?องกันน้ำท?วมตามโคนต้น ซึ่งจะเป็นสาเหตุของโรครากเน่าและโคนเน่า

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ชาวสวนผลไม้ควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

  • ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 80-90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. จะมีฝนตกชุก โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากน้ำท่วม
  • สำหรับฝนที่ตกชุก ทำให้สวนยางมีความชื้นสูง อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหน้ายาง ในต้นยางที่เปิดกรีดแล้วได้ เกษตรกรควรระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ