พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 16 กรกฎาคม 2555 - 22 กรกฎาคม 2555

ข่าวทั่วไป Tuesday July 17, 2012 07:07 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 16 กรกฎาคม 2555 - 22 กรกฎาคม 2555

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึง กระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส สำหรับในช่วงวันที่ 19-22 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% - ช่วงนี้จะมีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจาย อาจทำให้สภาพน้ำในกระชังปลา ริมแม่น้ำเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เกษตรกรจึงควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่สัตว์น้ำด้วย - สำหรับพืชไร่ พืชผักกและไม้ดอกที่กำลังเจริญเติบโต โดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของภาค ซึ่งมีฝนตกน้อยในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติม รวมทั้งป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยชนิดต่างๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ สำหรับในช่วงวันที่ 19-22 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ถึง กระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้น สัมพัทธ์ 75-85% - ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรที่ปลูกผักและพืชไร่ชนิดต่างๆ ควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม รวมทั้งระวัง และป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆด้วย - ส่วนข้าวนาปี ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน และตั๊กแตน ซึ่งจะกัดกินต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค. ฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส สำหรับในช่วงวันที่ 19-22 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85% - ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรที่ปลูกผักและพืชไร่ชนิดต่างๆ ควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆด้วย - ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ เฝ้าระวังอย่าให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงมาก เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนและป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค. ฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. สำหรับในช่วงวันที่ 19-22 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% - ในระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่องไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิต ไปแล้ว เกษตรกรควร ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งทาสารป้องกันเชื้อราบริเวณรอยแผลที่ตัดแต่งกิ่ง - ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู?ในที่ลุ?ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป?องกันน้ำท?วมตามโคนต้น ซึ่งจะเป็นสาเหตุของโรครากเน่าและโคนเน?

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค. ฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. สำหรับในช่วงวันที่ 19-22 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% - ฝั่งตะวันออก สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ ทำให้สวนผลไม้มีความชื้นสูง ไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น ไว้ในสวน แต่ควรเก็บกวาดไปกำจัด เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืช

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 16-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับในช่วงวันที่ 19-22 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% - ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 19-21 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ