พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 06 สิงหาคม 2555 - 12 สิงหาคม 2555

ข่าวทั่วไป Wednesday August 8, 2012 07:10 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 06 สิงหาคม 2555 - 12 สิงหาคม 2555

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักและหนักมาก เกษตรกรควรเฝ้าระวังสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย
  • ระยะนี้เป็นช่วงกลางฤดูฝน เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไม้ผลไปแล้วควรตัดแต่งกิ่งแล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา นอกจากนี้ควรเก็บกวาดผลที่เน่าเสีย และร่วงหล่นไปกำจัด เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของ เชื้อโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม ป้องกันสัตว์เปียกชื้นจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรหมั่นสำรวจหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มและรักษาเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • สำหรับชาวนาระยะนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ของพืช ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง
  • ระยะนี้เป็นช่วงฤดูฝนแมลงศัตรูสัตว์จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรจึงควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์ดังกล่าว มารบกวนสัตว์เลี้ยง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุกั้นน้ำ และเตรียมอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรยกพื้นคอกสัตว์ให้สูง รวมทั้งเตรียมแผนอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงตลอดจนเตรียมอาหารสัตว์และน้ำกินเอาไว้ให้พร้อม

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 6-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ
  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าและโคนเน่า

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

  • สำหรับบริเวณที่มีฝนน้อยไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • สำหรับพืชที่อยู่ในระยะใบอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ฝั่งตะวันตก ฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70%

  • สำหรับบริเวณที่มีฝนน้อยไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • สำหรับพืชที่อยู่ในระยะใบอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ