พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 สิงหาคม 2555 - 02 กันยายน 2555

ข่าวทั่วไป Wednesday August 29, 2012 11:02 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 สิงหาคม 2555 - 02 กันยายน 2555

ภาคเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. และ 1- 2 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 29-31 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%
  • ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. บริเวณที่มีฝนตกหนักติดต่อกันจะเกิดสภาวะน้ำท่วมได้ เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยควรป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย
  • สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่และพืชผัก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. และ 1- 2 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 29-31 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%
  • ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ให้อับชื้น รวมทั้งอย่าให้พื้นคอกสัตว์เปียกชื้น เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย

ภาคกลาง

  • ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. และ 1- 2 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 29-31 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังความเสียหายเนื่องจากฝนตกหนัก ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิและสภาพน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • เนื่องจากระยะต่อไปภาคกลางจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่ปลูกพืชไร่ในระยะนี้ควรยกร่องแปลงปลูกให้สูงขึ้น รวมทั้งจัดระบบการระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง

ภาคตะวันออก

-ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. และ 1- 2 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29-31 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. จะมีฝนตกหนัก พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก อย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืช เพราะจะทำให้เกิดโรครากเน่าและโคนเน่าได้
  • ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค.บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 29 ส.ค.- 2 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 29 ส.ค.- 2 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ระยะนี้ภาคใต้ทั้งสองฝั่งจะมีฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่กำลังเจริญเติบโต สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรเก็บกักน้ำสำรองไว้ใช้ในระยะต่อไปด้วย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรควรเก็บผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นไปทำลาย ไม่ควรปล่อยไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
  • ในช่วงวันที่ 27-28 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลื้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรง สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ