พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 03 กันยายน 2555 - 09 กันยายน 2555

ข่าวทั่วไป Wednesday September 5, 2012 07:18 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 03 กันยายน 2555 - 09 กันยายน 2555

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 4-7 กันยายน อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • สำหรับผู้ที่ปลูกไม้ดอกในระยะนี้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนทางตอนบนสุดของภาคระยะต่อไปปริมาณฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มีปริมาณฝนน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 4- 7 ก.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในพื้นที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้จะช่วยบรรเทาความแห้งแล้งเนื่องจากปริมาณฝนในช่วงที่ผ่านมาไม่เพียงพอ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 3-5 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 6-9 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำขัง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนฝนที่ตกในระยะนี้จะช่วยเพิ่มความชื้นให้แก่ดินและลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดลงไปได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 3-4 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 5-9 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นพืชซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าและโคนเน่า
  • ส่วนชาวสวนผลไม้ในระยะนี้ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกและทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 3-4 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 5-9 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
  • สำหรับในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกันเกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้
  • สำหรับบริเวณซึ่งมีฝนตกน้อยโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอเพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 3-4 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 5-9 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • สำหรับในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกันโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้
  • ในช่วงวันที่ 5-9 ก.ย.ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งจะมีฝนตกชุก ชาวสวนยางพาราควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นในสวน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ