พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 10 กันยายน 2555 - 16 กันยายน 2555

ข่าวทั่วไป Tuesday September 11, 2012 07:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 10 กันยายน 2555 - 16 กันยายน 2555

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-11 และ 14-16 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม ส่วนในช่วงวันที่ 12-13 ก.ย.มีฝน ฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 80-90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

  • ในช่วงวันที่ 12 -13 ก.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณตอนล่างของภาค ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักติดต่อกัน
  • ระยะนี้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในบริเวณสวนและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-11 และ 14-16 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12-13 ก.ย.มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

  • ในช่วงวันที่ 12-13 จะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรที่มีแหล่งกักเก็บน้ำเป็นของตนเอง ควรกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยง เช่น โคและกระบือ ตากฝนหรืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 10-12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

  • ในช่วงวันที่ 13 -16 ก.ย. เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่มีฝนตกหนักติดต่อกันควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ให้อับชื้น รวมทั้งอย่าให้พื้นคอกสัตว์เปียกชื้น เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 10-12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วน ในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

  • ในช่วงวันที่ 13 -16 ก.ย. จะมีฝนตกชุกและฝนตกหนัก เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตรจากสภาวะที่เกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนักติดต่อกัน
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังความเสียหาย เนื่องจากฝนตกหนักจะทำให้อุณหภูมิและสภาพน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 13 -16 ก.ย. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 10-12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%
  • ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 10-12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ระยะนี้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งและทาบริเวณรอยแผลที่ตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา
  • ในช่วงวันที่ 13 -16 ก.ย. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ