พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 14 กันยายน 2555 - 20 กันยายน 2555

ข่าวทั่วไป Monday September 17, 2012 07:14 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 14 กันยายน 2555 - 20 กันยายน 2555

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชมความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

  • ในช่วงนี้มีฝนชุกอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ใบและต้นเสียหายได้ โดยดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ย. มีฝนหนักอาจทำให้มีน้ำท่วมขัง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

  • ในช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. มีฝนหนักอาจทำให้มีน้ำท่วมขัง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นตายได้
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเสริมคันกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมล้นเข้าบ่อ และระวังสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หากโตได้ขนาดควรรีบทยอยจับขายไปก่อน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในสวน ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรดูแลสวน ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%
  • ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง ทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ในช่วงนี้มีฝนตกชุก เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก และระวังป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวนและพืชผัก
  • ในช่วงวันที่ 14 -18 ก.ย. มีฝนตกหนักเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ควรเฝ้าระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเตรียมพื้นที่สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ให้ไว้ในภาคใต้ฝั่งตะวันออกแล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ