พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 05 ตุลาคม 2555 - 11 ตุลาคม 2555

ข่าวทั่วไป Monday October 8, 2012 07:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 05 ตุลาคม 2555 - 11 ตุลาคม 2555

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยง
  • เกษตรกรบริเวณนอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำฝนที่ตก เพื่อจะได้มีสำรองไว้ใช้ในระยะต่อไป

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค. ทางตอนบนของภาคมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ สำหรับทางตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีลมแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ต.ค.มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

-ในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค. เกษตรกรทางตอนล่างของภาคควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตรจากฝนตกหนักถึงหนักมาก รวมทั้งควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผล และหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงขณะมีฝนฟ้าคะนองและลมแรง

  • พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ฝนตกน้อยด้วย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5-6, 10-11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ กับมีลมแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

  • ในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงขณะมีฝนฟ้าคะนองและลมแรง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสัตว์ไม่ให้อยู่ในที่ชื้นแฉะ รวมทั้งเตรียมพื้นที่สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
  • สำหรับพืชไร่ที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวก่อนที่จะได้รับความเสียหายจากฝนที่เพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค.

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5-6, 10-11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ กับมีลมแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

  • ในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. เกษตรกรในพื้นที่เสียงภัยบริเวณที่ลุ่มและที่ลาดเชิงเขา รวมทั้งบริเวณที่มีน้ำท่วมอยู่แล้วควรระวังอันตรายเนื่องจากฝนตกหนักถึงหนักมาก รวมทั้งป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร สำหรับชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการหักโค่นเนื่องจากลมแรง
  • ในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากคลื่นลมแรง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 5-6 และ 11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 70-90 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

-ภาคใต้จะมีฝนตกชุกหนาแน่นทางตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค. และทางฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 8-11 ต.ค. เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก

  • เนื่องจากระยะนี้มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรจัดทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก อย่าให้มีน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืช ส่วนชาวสวนยางพาราควรป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ในช่วงวันที่ 7-11 ต.ค. คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากคลื่นลมแรง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระวัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ