พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 08 ตุลาคม 2555 - 14 ตุลาคม 2555

ข่าวทั่วไป Tuesday October 9, 2012 07:15 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 08 ตุลาคม 2555 - 14 ตุลาคม 2555

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชมส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • เนื่องจากในระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาว เกษตรควรเตรียมอุปกรณ์กันหนาว สำหรับตนเองและวัสดุสำหรับให้ ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงไว้ให้พร้อม
  • ในระยะนี้แม้จะมีฝนลดลงแต่ยังมีความชื้นอยู่ เกษตรกร ที่ปลูกกาแฟควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคราสนิมและโรคใบจุด
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและเตรียมตัวสำหรับแทงช่อดอกในระยะต่อไป

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในวันที่ 8-9 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชมในช่วงวันที่ 10-14 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

  • ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝน อากาศจะเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หากร่างกายปรับตัวไม่ทันจะทำให้เป็นโรคได้ง่าย
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูหนาว เกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกันหนาว และให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงเอาไว้ให้พร้อม
  • ส่วนเกษตรกรที่ปลูกพืชในช่วงปลายฤดูฝน ควรเตรียมน้ำสำรองเอาไว้ให้พืชขณะเจริญเติบโต เพราะหากได้รับน้ำ ไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำ จะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม./ชม ในช่วงวันที่ 11-14 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างและด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95%

  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะลดลง เนื่องจากจะเข้าสู่ฤดูแล้ง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร เพราะอาจทำให้มีโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราระบาดได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปถึงทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 11-14 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง เป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95%

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เกิน 7วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้
  • ระยะนี้มีฝนตกชุก ชาวสวนผลไม้ควรหมั่นสังเกต เพราะอาจมีโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราระบาดได้ โดยหากพบควรรีบรักษา เนื่องจากเชื้อโรคอาจแพร่กระจายไปยังต้นอื่นได้ง่าย โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า
  • ในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาคในครึ่งหลังของสัปดาห์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 11-14 ต.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเล มีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อนควรติดตามเฝ้าระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • เนื่องจากระยะต่อไปภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยจะเริ่มจากทางตอนบนของภาคก่อน เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นพี่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระวัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาคในครึ่งหลังของสัปดาห์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-95%

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อนควรติดตามเฝ้าระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ส่วนทางฝั่งตะวันตกระยะนี้จะมีฝนตกชุก เกษตรกรที่ปลูกพืชสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา หากพบการระบาดควรรีบควบคุมโรคก่อนจะระบาดเป็นบริเวณกว้างซึ่งจะยากต่อการควบคุม
  • ในช่วงวันที่ 8-10 ต.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระวัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ