พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 05 พฤศจิกายน 2555 - 11 พฤศจิกายน 2555

ข่าวทั่วไป Tuesday November 6, 2012 07:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 05 พฤศจิกายน 2555 - 11 พฤศจิกายน 2555

ภาคเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 5-8 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 พ.ย. มีฝนฟ้า คะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอย อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% - ระยะนี้เป็นช่วงที่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ ของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง - ในช่วงวันที่ 9-11 พ.ย. เกษตรบริเวณตอนบนของภาคควรระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงบางแห่ง และป้องกันความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร - สำหรับในบางช่วงอาจมีหมอกและน้ำค้างเกิดขึ้น ผู้ที่ปลูกไม้ดอกควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะ ราแป้งและราน้ำค้าง - นอกจากนี้ เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ยวดยานพาหนะ ในบริเวณที่มีหมอกหนา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภู อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 -18 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% - ระยะนี้เป็นช่วงที่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ ของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง - สำหรับสภาพอากาศแห้ง และปริมาณฝนที่มีน้อย เกษตรกรควรคลุมพื้นที่เพาะปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้งเพื่อลดการระเหยของน้ำและสงวนความชื้นที่บริเวณผิวหน้าดิน - นอกจากนี้ เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ยวดยานพาหนะ ในบริเวณที่มีหมอกหนา

ภาคกลาง

มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่ง ร้อยละ10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขา อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% - ในระยะต่อไปปริมาณฝนจะลดลง เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง - ส่วนผู้ที่ปลูกพืชผักในระยะนี้ควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสมเพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายได้ - สำหรับพื้นที่ซึ่งมีสภาพอากาศแห้งเกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลง

ภาคตะวันออก

มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขา อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% - เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะลดลง เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง - สำหรับสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม - ระยะต่อไปจะมีปริมาณฝนน้อย ผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% - ภาคใต้ ฝั่งตะวันออก ปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทางระบายน้ำ อย่าให้ตื้นเขิน เพื่อจะได้ระบายน้ำได้เร็วขึ้นเมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไว้ในสวน เพราะจะเป็นที่อาศัยหลบซ่อน ของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่ง มักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90% ภาคใต้ฝั่งตะวันตก สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคหน้ากรีดยาง และโรครา สีชมพู เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเท ได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ