พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 14 พฤศจิกายน 2555 - 20 พฤศจิกายน 2555

ข่าวทั่วไป Thursday November 15, 2012 07:15 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 14 พฤศจิกายน 2555 - 20 พฤศจิกายน 2555

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอย อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • ในระยะต่อไปอุณหภูมิจะลดลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเตรียมอุปกรณ์เพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เลี้ยงสัตว์ให้พร้อม เพื่อป้องกันสัตว์เจ็บป่วย และปรับตัวไม่ทัน
  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้น เสียหายได้
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้จะช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในพืชไร่และไม้ผลได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 14-15 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภู อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

  • ในช่วงนี้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในช่วงแล้ง
  • สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากทิ้งไว้กลางแจ้ง เพื่อป้องกันผลผลิตเสียหายเนื่องจากฝนที่ตก
  • ในระยะต่อไปอุณหภูมิจะลดลง เกษตรกรควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกันหนาวและเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เพื่อป้องกันสัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 14-15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงแล้ง
  • ช่วงนี้ สภาพอากาศชื้นในตอนเช้า เกษตรกรที่ปลูกพืชผัก ควรระวังโรคราน้ำค้าง หากพบควรรีบป้องกันกำจัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
  • ระยะนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำ ให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำหากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 14-15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20 -30 ของพื้นที่ ส่วนในวันที่ 16-20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส บริเวณเทือกเขา อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • ในช่วงนี้จะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นเกษตรกรที่มี แหล่งเก็บน้ำเป็นของตนเองควรกักเก็บน้ำและ วางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้เหมาะสม เพื่อให้มีน้ำพอใช้ในช่วงแล้ง
  • สำหรับชาวสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไว้ในบริเวณสวน เพื่อเป็นการตัดวงจรของโรคและศัตรูพืช

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 14-15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงแกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค บริเวณอ่าวไทยตอนบน ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ในช่วงนี้บริเวณภาคใต้ตอนบน จะมีฝนตกหนัก บางแห่ง เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ทางฝั่งตะวันออก ปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง และทำทางระบายน้ำอย่าให้ตื้นเขิน เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูก
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16-17 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมี คลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่ง ควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามัน ในช่วงวันที่ 18-19 พ.ย. จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

  • ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 14-15 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%
  • ในช่วงนี้บริเวณภาคใต้ตอนบน จะมีฝนตกหนัก บางแห่ง เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ทางฝั่งตะวันตก เกษตรกร ควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะในยางพารา
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16-17 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมี คลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่ง ควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามัน ในช่วงวันที่ 18-19 พ.ย. จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ