พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 21 ธันวาคม 2555 - 27 ธันวาคม 2555

ข่าวทั่วไป Monday December 24, 2012 07:15 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 21 ธันวาคม 2555 - 27 ธันวาคม 2555

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 21-22 ธ.ค. มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 ธ.ค. มีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ในระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-9 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • เนื่องจากในช่วงวันที่23-27 ธ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด จะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกันหนาว และวัสดุสำหรับให้ความอบอุ่นเอาไว้ให้พร้อม
  • สำหรับบริเวณยอดดอยจะมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังป้องกันความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาว เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และเพิ่มหลอดไฟภายในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก ส่วนโคและกระบือ เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่โล่งตอนกลางคืนโดยเฉพาะในช่วงที่อุณหภูมิต่ำและมีลมแรง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำหากโตได้ขนาดควรรีบจับขายไปก่อน เพื่อลดความเสียหายจากอุณหภูมิที่ลดลง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. เว้นแต่ในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

  • ในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค.อุณหภูมิจะลดลง5-7องศาเซลเซียส เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน และทำแผงกำบังลมหนาว และหลีกเลี่ยงการปล่อยให้โคและกระบือ อยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืนในช่วงที่อุณหภูมิต่ำและมีลมแรง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารลงเนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย และหากโตได้ขนาดควรทยอยจับขายไปก่อน

ภาคกลาง

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. เว้นแต่ในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. มีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-19 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75%

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. จะมีฝนบางแห่ง สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยเศษอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย และหากโตได้ขนาดควรทยอยจับขายไปก่อน

ภาคตะวันออก

อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร เว้นแต่ในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. มีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%

  • ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง3-5องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในระยะเตรียมแทงช่อดอก เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนรวมทั้งควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นทรุดโทรมส่งผลต่อการแตกตาดอก
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำหากโตได้ขนาดควรทยอยจับขายไปก่อน เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90%

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้ง เตรียมหาที่สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง และจัดเตรียมอาหารสัตว์และน้ำกินสำหรับสัตว์เอาไว้ด้วย
  • สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรควรรีบเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันความเสียหาย
  • บริเวณที่มีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชผักและพืชสวน
  • ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยตอนล่างคลื่นลมมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 19-23 ธ.ค.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ธ.ค.มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว รวมทั้ง เตรียมหาที่สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง และจัดเตรียมอาหารสัตว์และน้ำกินสำหรับสัตว์เอาไว้ด้วย
  • สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรควรรีบเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันความเสียหาย
  • บริเวณที่มีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชผักและพืชสวน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ