พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 02 มกราคม 2556 - 08 มกราคม 2556

ข่าวทั่วไป Thursday January 3, 2013 07:43 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 02 มกราคม 2556 - 08 มกราคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-6 ม.ค.56 มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ทางตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ 15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียง เหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค.56 มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-9 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ในระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน และหากพบสัตว์ที่ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่ม เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่น
  • สำหรับผู้ที่ปลูกพืชผักในระยะนี้ควรระวังโรค ราน้ำค้าง หากพบการระบาดของโรคดังกล่าวควรรีบป้องกันและกำจัด
  • ในช่วงนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-6 ม.ค.56 อากาศหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก เฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค.56 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในระยะที่อุณหภูมิลดลง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และสัตว์เลี้ยง อย่างเพียงพอ
  • ส่วนผู้ที่จุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และสัตว์เลี้ยง หลังจากใช้งานเสร็จแล้วควรดับให้สนิททุกครั้ง รวมทั้งทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และอาคารบ้านเรือน เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย
  • ในระยะนี้สภาพอากาศแห้งทำให้มีน้ำระเหยจากพื้นดินได้มาก เกษตรกรควรคลุมพื้นที่การเกษตรด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 3-6 ม.ค.56 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค.56 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงทำให้สัตว์น้ำกินอาหาร ได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 3-6 ม.ค.56 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค.56 อากาศเย็นทางตอนบนของภาคกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกร ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
  • ในช่วงที่อุณหภูมิลดลง เกษตรกรควรลดปริมาณอาหารของสัตว์น้ำ เนื่องจากสัตว์น้ำ จะกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 3-6 ม.ค.56 มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมากตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31องศาเซลเซียส อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค.56 มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มเกษตรกรควรทำทางระบายน้ำ ขุดลอกคูคลอง เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง

-ในระยะนี้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลบริเณพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

  • อนึ่งในช่วงวันที่ 2-6 ม.ค.56 คลื่นลมบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ผู้ที่เพาะเลี้ยง สัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

  • ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 3-6 ม.ค.56 มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค.56 มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

-ในระยะนี้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลบริเณพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

  • สำหรับคลื่นลมบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ