พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 09 มกราคม 2556 - 15 มกราคม 2556

ข่าวทั่วไป Thursday January 10, 2013 06:48 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 09 มกราคม 2556 - 15 มกราคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 9-13 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 2-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 14-15 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึง หนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

-ในช่วงที่อุณหภูมิต่ำสุดลดลง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง อย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

-สำหรับบริเวณยอดดอยจะมีน้ำค้างแข็งในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร

-เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ส่งผลต่อการผลิดอกออกผลของพืช

-สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย เนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-12 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 14-15 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 13-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 10-12 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส และมีลมแรง เกษตรกรที่จุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และสัตว์เลี้ยง เมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรดับให้สนิททุกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาวให้แก่สัตว์เลี้ยง รวมทั้งเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อป้องกันน้ำระเหยจากผิวดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 10-13 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 14-15 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 10-13 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพราะถ้าได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต หากขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือน อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 10-13 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 14-15 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากขาดน้ำจะทำให้การติดผลลดลง

-ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ย และไร ชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงส่งผลให้ต้นทรุดโทรมผลผลิตลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 9-12 ม.ค. ตอนบนของภาคตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมามีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนตอนล่างของภาคตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไปมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

-ในช่วงที่อากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • ทางตอนบนของภาคจะมีสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และไม้ผล
  • ส่วนทางตอนล่างของภาคในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นพืช ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นตายได้ นอกจากนี้ ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชสวน โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 9-12 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

-ในช่วงที่อากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นพืช ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นตายได้ นอกจากนี้ ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ