พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 มกราคม 2556 - 17 มกราคม 2556

ข่าวทั่วไป Monday January 14, 2013 08:11 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 มกราคม 2556 - 17 มกราคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 12-14 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 2-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม

  • ในช่วงวันที่ 12-14 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  • ส่วนผู้ที่จุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และสัตว์เลี้ยง หลังจากใช้งานเสร็จแล้วควรดับไฟให้สนิททุกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย
  • สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาว ถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับผู้ที่ปลูกพืชผักและพืชไร่ในระยะนี้ ควรระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง หากพบควรป้องกันและกำจัด เพื่อไม่ให้ระบาด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-14 ม.ค. อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-18 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยจากพื้นดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อป้องกันน้ำระเหยจากผิวดิน
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ ชาวสวนยางพาราควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 11-15 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 13-19 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้สภาพอากาศแห้งทำให้มีน้ำระเหยจากพื้นดินได้มาก เกษตรกรควรคลุมพื้นที่การเกษตรด้วยวัสดุ เหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสมตลอดช่วงแล้ง
  • สำหรับผู้ที่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเองควรใช้น้ำอย่างประหยัดโดยให้น้ำแก่พืชครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ครั้ง และควรให้ในตอนเย็นเพื่อลดการระเหยของน้ำ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 11-15 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบาง ในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 13-19 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • สำหรับผู้ที่ปลูกพืชไร่และไม้ผล ควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูดซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ต้น ทรุดโทรมได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรลดปริมาณอาหารลง เนื่องจากในช่วงที่อุณหภูมิลดลง สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย เศษอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 11-15 มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 16-17 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียง เหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

-ในช่วงที่อากาศเย็นโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชผักและไม้ผล
  • เนื่องจากระยะที่ผ่านมาทางตอนล่างของภาคมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้น ป้องกันโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อราโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

  • ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

-ในช่วงที่อากาศเย็นโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • สำหรับทางตอนบนของภาคจะมีสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชผักและไม้ผล
  • เนื่องจากระยะที่ผ่านมาทางตอนล่างของภาคมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ดินมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้น ป้องกันโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อราโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ