พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 28 มกราคม 2556 - 03 กุมภาพันธ์ 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday January 29, 2013 07:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 28 มกราคม 2556 - 03 กุมภาพันธ์ 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักกับลูกเห็บเกิดขึ้นได้บางแห่ง อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 2-3 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-9 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่และป้ายโฆษณาสูงๆ
  • ในระยะแรกของสัปดาห์ มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรใว้กลางแจ้งในช่วงดังกล่าว เพื่อป้องกันผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย
  • สำหรับชาวสวนผลไม้ควรผูดยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้น ของไม้ผลให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโค้นล้ม เมื่อมีลมกระโชกแรง
  • เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง อย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันความหนาวเย็น จนร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่าย
  • ส่วนบริเวณยอดดอยจะมีน้ำค้างแข็ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 2-3 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้ทางตอนบนของภาค เกษตกรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนผู้ที่จุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย
  • เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 2-3 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่อุณหภูมิลดลง เกษตรกรควรระวังป้องกัน การเจ็บป่วย
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นหน้าแล้ง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 29-31 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 2-3 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่ง ฉีกหักและต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมกระโชกแรง
  • เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ดอกและผลอ่อนเสียหาย ผลผลิตลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 28-29 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ม.ค.-3 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค

  • สำหรับบริเวณที่มีฝนน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น
  • ส่วนบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงแล้ง เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง
  • ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยง การจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับ ให้สนิททุกครั้ง
  • ในช่วงวันที่ 28 ม.ค.-3กุมภาพันธ์ บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 28-29 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ม.ค.-3 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สำหรับบริเวณที่มีฝนน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น
  • ส่วนบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงแล้ง เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง
  • ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยง การจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับ ให้สนิททุกครั้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ