พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 30 มกราคม 2556 - 05 กุมภาพันธ์ 2556

ข่าวทั่วไป Thursday January 31, 2013 06:52 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 30 มกราคม 2556 - 05 กุมภาพันธ์ 2556

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 30 ม.ค.-1 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ระยะนี้ชาวสวนผลไม้ควรสำรวจอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง
  • เนื่องจากช่วงนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือน และทำแผงกำบังลมหนาว เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเจ็บป่วย
  • ส่วนเกษตรที่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเองควรใช้น้ำอย่างประหยัด เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจาย ของฝนจะมีน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 30 ม.ค.-1 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียสส่วนมากทางตอนบนของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียสส่วนมากทางตอนบนของภาค

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตกรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับชาวสวนยางพารา ควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวน หากมีความจำเป็นควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 30 ม.ค.-1 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ส่วนมากทางตอนบนของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกและทางตอนล่างของภาคของภาค

  • ในช่วงที่อุณหภูมิลดลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดโดยให้น้ำแก่พืชครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง หรือให้น้ำแก่พืชในตอนเย็น เพื่อลดการระเหยของน้ำ สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 30 ม.ค.-2 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ช่วงที่มีฝนฟ้าคะนองอาจมีลมกระโชกแรง ชาวสวนผลไม้ควรสำรวจอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโค่นล้ม
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหาก ขาดน้ำ ดอกและผลอ่อนจะร่วงหล่น ทำให้ผลผลิตลดลง
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และควรใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำพอใช้ในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 30 ม.ค.-2 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค

  • ระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง
  • ในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว
  • ส่วนผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝน เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บเพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย
  • ระยะนี้ บริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 30 ม.ค.-2 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง
  • ในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว
  • ส่วนผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝน เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บเพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ