พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 กุมภาพันธ์ 2556 - 10 กุมภาพันธ์ 2556

ข่าวทั่วไป Wednesday February 6, 2013 07:09 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 กุมภาพันธ์ 2556 - 10 กุมภาพันธ์ 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-8 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิลดลง 3-5 องศา โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียสสำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนอง เป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง บางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

-ในช่วงที่อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

-ในช่วงวันที่ 4-8 ก.พ.จะมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน

  • ในช่วงวันที่ 9-10 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตร ไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ส่วนชาวสวนผลไม้ควรสำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-8 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนอง บางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง บางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับผู้ที่จุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงหากใช้งานเสร็จแล้วควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย
  • ส่วนชาวสวนผลไม้ควรสำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและ ค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง
  • ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลด การระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 4-8 ก.พ. มีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาโดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและทางตอนล่างของภาค สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 ก.พ. มีฝน ฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก เฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อยรวมทั้ง ใช้น้ำอย่างประหยัด
  • ในช่วงวันที่ 9-10 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมพัดแรง
  • สำหรับชาวสวนผลไม้ควรสำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 4-8 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

-สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรด้วย และควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผลอ่อน เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากขาดน้ำในระยะนี้จะทำให้ การเจริญเติบโตทางผลชะงัก หรือหลุดร่วงได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 4-8 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออกความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป:ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ในช่วงวันที่ 4-8 ก.พ. ทางตอนล่างของภาค จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหาย จากสภาวะดังกล่าว

-สำหรับเกษตรกรที่ต้องการให้ปุ๋ยแก่พืชควรทำในระยะนี้ เนื่องจากมีฝนตก

  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาใว้ใช้ทางด้านการเกษตรด้วย เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย
  • ในช่วงวันที่ 9-10 ก.พ. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 4-8 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนอง เป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคส่วนในช่วงวันที่ 9-10 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนอง เป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้ เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

-สำหรับเกษตรกรที่ต้องการให้ปุ๋ยแก่พืชควรทำในระยะนี้ เนื่องจากมีฝนตก

  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาใว้ใช้ทางด้านการเกษตรด้วย เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ