พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 13 กุมภาพันธ์ 2556 - 19 กุมภาพันธ์ 2556

ข่าวทั่วไป Friday February 15, 2013 06:44 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 13 กุมภาพันธ์ 2556 - 19 กุมภาพันธ์ 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-16 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

  • สำหรับอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดที่แตกต่างกันมาก ในระยะนี้ เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เนื่องจากช่วงนี้ฝนที่ตกมีปริมาณน้อยประกอบกับ น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง และควรให้น้ำพืชในตอนเย็นเพื่อลดการระเหยของน้ำ
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดเช่นเพลี้ยและไรชนิดต่าง ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นทรุดโทรม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-16 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง
  • ในช่วงวันที่ 17 — 19 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวและไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
  • ระยะนี้น้ำระเหยมากประกอบกับบางช่วงมีแดดจัด เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน และควบคุมอุณหภูมิดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 13-16 ก.พ. มีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน และมีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง เกษตรกรควรเลือกปลูกพืช ที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง

  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณฝนไม่เพียงพอ แก่ความต้องการของพืช เกษตรกรจึงควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต หากขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 13-16 ก.พ. มีหมอกบางในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • ในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและ ลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงหากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ช่วงนี้อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมากเกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและแตกใบอ่อน ชาวสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ต้นทรุดโทรมการติดผลลดลง
  • ฝนที่ตกในระยะนี้โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค จะช่วยบรรเทาความแห้งแล้ง และลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดลงไปได้บ้าง
  • เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อป้องกันน้ำระเหยจากผิวดิน และรักษาความชื้นภายในดิน
  • ในช่วงวันที่13-14 ก.พ. อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ช่วงนี้อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมากเกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ฝนที่ตกในระยะนี้โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค จะช่วยบรรเทาความแห้งแล้ง และลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดลงไปได้บ้าง
  • เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อป้องกันน้ำระเหยจากผิวดิน และรักษาความชื้นภายในดิน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ