พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 20 กุมภาพันธ์ 2556 - 26 กุมภาพันธ์ 2556

ข่าวทั่วไป Thursday February 21, 2013 07:07 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 20 กุมภาพันธ์ 2556 - 26 กุมภาพันธ์ 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซีย สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

  • ช่วงนี้อุณหภูมิอากาศระหว่างกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทันและเจ็บป่วยได้ เกษตรกรจึงควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
  • เนื่องจากช่วงกลางวัน อากาศร้อนและมีแสงแดดจัด เกษตรกรควรดูแลระดับน้ำในบ่อเลี้ยงอย่าให้ลดลงมากจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิและสภาพน้ำเปลี่ยนรวดเร็วจนเกินไป อาจทำให้สัตว์ปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวและไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันออก และตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล อากาศจะแปรปรวนระหว่างอากาศร้อนสลับหนาว เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังควรระวังโรคไหม้ในแปลงข้าว หากพบควรรีบกำจัดก่อนแพร่ระบาดไปยังแปลงอื่น
  • ในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งพืชผลทางการเกษตร

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากในระยะนี้ช่วงกลางวัน อากาศร้อนและมีแสงแดดจัด เกษตรกรควรดูแลระดับน้ำในบ่อเลี้ยงอย่าให้ลดลงมากจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิและสภาพน้ำเปลี่ยนรวดเร็วจนเกินไป อาจทำให้สัตว์ปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณฝนไม่เพียงพอแก่ความต้องการของพืช เกษตรกรจึงควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต หากขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิต

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. ทางตอนบนของภาค อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดหรือค้ำยันกิ่งและลำต้นที่รับน้ำหนักมาก รวมทั้งผลทุเรียนที่ได้ขนาดให้แข็งแรง เพื่อลดความเสียหายจากลมกระโชกแรงที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณไม่มาก เกษตรกรควรจัดหาน้ำเพิ่มเติมให้แก่พืชที่กำลังเจริญเติบโต และไม้ผลที่อยู่ในระยะให้ผลผลิตอย่างเพียงพอ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 20-21 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

  • ในระยะนี้ทางตอนบนของภาค ปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูดซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ส่งผลต่อผลผลิตได้
  • ส่วนทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 22-26 ก.พ. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง จะช่วยบรรเทาความแห้งแล้งในช่วงที่ผ่านมาได้
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควร กักเก็บน้ำเอาใว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย
  • ในช่วงวันที่ 22—26 ก.พ. บริเวณอ่าวไทย จะมีคลื่นลมแรงสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กในอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 20-22 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในระยะนี้ทางตอนบนของภาค ปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งควรระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูดซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ส่งผลต่อผลผลิตได้
  • ส่วนทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 22-26 ก.พ. จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง จะช่วยบรรเทาความแห้งแล้งในช่วงที่ผ่านมาได้
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควร กักเก็บน้ำเอาใว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ