พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 กุมภาพันธ์ 2556 - 05 มีนาคม 2556

ข่าวทั่วไป Thursday February 28, 2013 07:18 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 กุมภาพันธ์ 2556 - 05 มีนาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ.-2 มี.ค. มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิ จะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูร้อนสภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่ายกายปรับตัวไม่ทัน

-แม้ระยะนี้จะมีฝน แต่ปริมาณฝนยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้พืชในระยะเจริญเติบโต เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ

  • ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผล ให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันการหักโค่น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ.-1 มี.ค. มีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่กับมีกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูร้อนสภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่ายกายปรับตัวไม่ทัน
  • ในช่วงนี้สภาพอากาศแห้งปริมาณน้ำระเหยจากพื้นดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
  • ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวและไม่ควรตากไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 28 ก.พ.- 2 มี.ค. มีหมอกในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

-สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยฉีดน้ำบริเวณหลังคา หรือนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในโรงเรือน รวมทั้งเพิ่มปริมาณน้ำดื่มให้กับสัตว์

  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงหากขาดความสมดุลจะ ทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่และป้ายโฆษณาสูง ขณะมีลมแรง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 28 ก.พ.-2 มี.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า และมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 3- 5 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากได้รับน้ำ ไม่เพียงพอจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ในระยะนี้สภาพอากาศแห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบสวนและหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ผูกยึด ค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันการหักโค่นเมื่อมีลมแรง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ.-2 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-35 องศาเซลเซียส อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่สุราษฏร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่สุราษฏร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

  • สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะลดลง
  • สำหรับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหายได้
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและแตกใบอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้การติดผลลดลง และต้นทรุดโทรม
  • ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 27 ก.พ.- 2 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

  • สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะลดลง
  • สำหรับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหายได้
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและแตกใบอ่อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้การติดผลลดลง และต้นทรุดโทรม
  • ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ