พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 01 มีนาคม 2556 - 07 มีนาคม 2556

ข่าวทั่วไป Monday March 4, 2013 07:04 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 01 มีนาคม 2556 - 07 มีนาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณฝนยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผล เช่น ลำไยและลิ้นจี่ ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอเพราะหากขาดน้ำจะทำให้การติดผลลดลง
  • ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เช่น มะขามหวาน ข้าวโพด ยาสูบ และพริก เป็นต้น เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว และไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งในช่วงดังกล่าวเพราะจะเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 2-4 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น เกษตรกรจึงควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  • ในช่วงวันที่ 2-4 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตร ไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
  • แม้จะมีฝนตกในระยะนี้ แต่มีปริมาณน้อย ประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาอุณหภูมิดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง ในระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่และป้ายโฆษณาสูง ขณะมีลมแรง
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่การกระจายยังไม่ทั่วถึง เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอแล้วค่อยลงมือปลูก
  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนในระยะนี้ เกษตรกรที่ปลูกกล้วยไม้ในโรงเรือนควรลดอุณหภูมิ โดยฉีดน้ำบริเวณหลังคาและเพิ่มความชื้นในโรงเรือน โดยใช้วัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปใว้ในโรงเรือน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก จากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6- 7 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น ทุเรียนและมังคุด ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ หากขาดน้ำจะทำให้ผลร่วงหล่น
  • เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยวและไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้งในช่วงดังกล่าว เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่สุราษฏร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่สุราษฏร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • สำหรับกาแฟที่เก็บเกี่ยวผลผลิตมาแล้ว หากเปียกฝน ในระยะที่ผ่านมา ชาวสวนควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรควรเก็บกวาดผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น ไปกำจัดให้ถูกวิธี โดยเผาหรือฝัง เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของศัตรูพืช
  • ในช่วงวันที่ 3-7 มี.ค. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 2-5 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • สำหรับกาแฟที่เก็บเกี่ยวผลผลิตมาแล้ว หากเปียกฝน ในระยะที่ผ่านมา ชาวสวนควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรควรเก็บกวาดผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น ไปกำจัดให้ถูกวิธี โดยเผาหรือฝัง เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของศัตรูพืช

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ