พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 มีนาคม 2556 - 10 มีนาคม 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday March 5, 2013 06:59 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 มีนาคม 2556 - 10 มีนาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-6 มี.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก เฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. มีเมฆบางส่วน และอุณหภูมิจะสูงขึ้น อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตราย โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะมีลมแรง
  • ฝนที่ตกในช่วงนี้จะมีปริมาณไม่มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืช และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-6 มี.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. มีเมฆบางส่วน และอุณหภูมิจะสูงขึ้น อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทันและเจ็บป่วยได้ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  • ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. จะมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้น เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง
  • สำหรับในช่วงที่มีอากาศร้อน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดและเจ็บป่วย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5-6 มี.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. มีเมฆบางส่วน และอุณหภูมิจะสูงขึ้น อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก เฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 5-6 มี.ค. จะมีฝนและอุณหภูมิลดลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่ให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. จะมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นเกษตรกรจึงควรจัดหาน้ำเพิ่มเติมให้แก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง เพื่อสงวนความชื้นในดิน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5-6 มี.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. มีเมฆบางส่วน และอุณหภูมิจะสูงขึ้น โดยในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากฝนที่ตกในระยะนี้มีปริมาณไม่มากและไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานและมีแหล่งน้ำเป็นของตนเองควรใช้น้ำอย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง
  • สำหรับไม้ผลที่กำลังให้ผลผลิต ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตด้วยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 4-6 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่สุราษฏร์ธานีขึ้นมาลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไปลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่สุราษฏร์ธานีขึ้นมาลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไปลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
  • ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 4-6 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรจึงควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ในช่วงวันที่ 4-6 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางเกษตรไว้กลางแจ้ง
  • บริเวณที่มีฝนตกน้อยโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อสงวนความชื้นในดิน
  • ในช่วงวันที่ 4-6 มี.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ