พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 08 มีนาคม 2556 - 14 มีนาคม 2556

ข่าวทั่วไป Monday March 11, 2013 07:30 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 08 มีนาคม 2556 - 14 มีนาคม 2556

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 มี.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นในตอนเช้า บริเวณตอนล่างของภาคมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลเช่น ลำไยและลิ้นจี่ ให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันการหักโค่น
  • ในช่วงวันที่ 10-14 มี.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ บริเวณตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 มี.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศา อากาศเย็นทางตอนบนของภาค และมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 10-14 มี.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียสโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดและเจ็บป่วย
  • ในระยะนี้สภาพอากาศแห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนในระยะนี้ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิในโรงเรือน โดยฉีดน้ำบริเวณหลังคาและเพิ่มความชื้นในโรงเรือน โดยใช้วัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปใว้ในโรงเรือน รวมทั้งเพิ่มปริมาณน้ำกินสำหรับสัตว์
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย ในพืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • แม้จะมีฝนตกในระยะนี้ แต่มีปริมาณน้อย เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น ทุเรียน เงาะ และมังคุด ควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • นอกจากนี้ เกษตรกรควรรักษาความชื้นภายในดินโดยคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งๆ ถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 มี.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ยางพาราที่อยู่ในระยะแตกใบอ่อน ชาวสวนควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝน จะลดลง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะแตกใบอ่อนเช่นมังคุด เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ต้นทรุดโทรม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ยางพาราที่อยู่ในระยะแตกใบอ่อน ชาวสวนควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝน จะลดลง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะแตกใบอ่อนเช่นมังคุด เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ต้นทรุดโทรม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ