พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 22 มีนาคม 2556 - 28 มีนาคม 2556

ข่าวทั่วไป Monday March 25, 2013 06:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 22 มีนาคม 2556 - 28 มีนาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 14-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • เนื่องจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • เนื่องจากอากาศมีเสถียรสภาพสูง อากาศจะจมตัวลง ทำให้ควันไฟลอยตัวขึ้นข้างบนได้ยาก และแผ่ปกคลุมเป็นพื้นที่กว้าง ก่อให้เกิดภาวะมลพิษจากหมอกควันเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรงดการเผาวัสดุกลางแจ้ง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. อากาศร้อนขึ้นกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างและทางด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร และงดตากผลผลิตในช่วงเวลาดังกล่าว
  • สภาพอากาศแห้งและฝนตกน้อย เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่และพืชผัก
  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดและเจ็บป่วย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. อากาศร้อนขึ้นกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่าง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้มีแสงแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ หากมีความจำเป็นควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และดื่มน้ำบ่อยครั้ง
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณสัตว์ที่เลี้ยง หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ฝนที่ตกในช่วงนี้จะมีปริมาณไม่มาก เกษตรกรควรดูแล ให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืช รวมทั้งป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชทรุดโทรม

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. อากาศร้อนขึ้นกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณไม่มาก สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • สภาพอากาศที่ร้อนและมีแสงแดดจัด ทำให้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อสงวนความชื้นในดิน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีเมฆบางส่วน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • บริเวณที่มีฝนตกน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดย เก็บกวาดเศษใบไม้แห้งที่ร่วงหล่นในสวนให้โล่งเตียน และทำแนวกันไฟรอบสวน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • บริเวณที่มีฝนตกน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดย เก็บกวาดเศษใบไม้แห้งที่ร่วงหล่นในสวนให้โล่งเตียน และทำแนวกันไฟรอบสวน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ