พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 มีนาคม 2556 - 02 เมษายน 2556

ข่าวทั่วไป Thursday March 28, 2013 06:55 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 มีนาคม 2556 - 02 เมษายน 2556

ภาคเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • สำหรับอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน ในระยะนี้เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันร่างกายเจ็บป่วย
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น ลำไย ลิ้นจี่ และมะม่วง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย ในพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน ตลอดจนโรงเก็บผลผลิตทางการเกษตรด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 27-28 มี.ค. และ 31 มี.ค.-2 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 27-28 มี.ค. และ 31 มี.ค.-2 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งทำให้น้ำระเหยได้มาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง

ภาคกลาง

มีเมฆบางส่วน และมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. เว้นแต่ในช่วงวันที่ 28-29 มี.ค. และ 1-2 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อาจมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณไม่มาก และการกระจายยังไม่ทั่วถึง เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอก่อนจึงลงมือปลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูร้อนให้กับสัตว์เลี้ยงด้วย และหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ที่ป่วยควรแยกออกจากกลุ่มแล้วรีบรักษา รวมทั้งหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย หากจำเป็นควรสวมถุงมือทุกครั้ง

ภาคตะวันออก

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร เว้นแต่ในช่วงวันที่ 27-28 มี.ค. และ 1-2 เม.ย. ทางตอนบนของภาคมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร

  • ระยะนี้อาจมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ชาวสวนผลไม้ควรตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในระยะนี้ ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยโดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวน หากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง ยางพาราที่อยู่ในระยะพลัดใบ ชาวสวนควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวน หากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • ระยะนี้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เช่น ทุเรียน เกษตรกรควรให้น้ำ อย่างเหมาะสม เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหล่นการติดผลลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร

  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง ยางพาราที่อยู่ในระยะพลัดใบ ชาวสวนควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวน หากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • ระยะนี้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ