ระหว่าง 29 มีนาคม 2556 - 04 เมษายน 2556
ภาคเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
- เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย ในพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน ตลอดจนโรงเก็บผลผลิตทางการเกษตรด้วย
- นอกจากนี้ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดเ ช่นเพลี้ยและไรต่างๆ ในไม้ผลและพืชผัก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.-4 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.-4 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก ส่วนมากทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือน และพืชผลทางการเกษตร
- เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง
- สภาพอากาศร้อนและน้ำระเหยมาก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณสัตว์ที่เลี้ยง หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคกลาง
มีเมฆบางส่วน และมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. โดยในช่วงวันที่ 1-4 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- สภาพอากาศที่ร้อน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยง อย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียด และเจ็บป่วย
- ระยะนี้มีแสงแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานๆ หากมีความจำเป็นควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และดื่มน้ำบ่อยครั้ง
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 29-31 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 เม.ย. ทางตอนบนของภาคมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- ระยะนี้อาจมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ชาวสวนผลไม้ควรตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง
- ฝนที่ตกในช่วงนี้จะมีปริมาณไม่มาก เกษตรกรควรดูแล ให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชไร่ และพืชสวนอย่างพอเพียง รวมทั้งป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชทรุดโทรม
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
- สภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง ยางพาราที่อยู่ในระยะพลัดใบ ชาวสวนควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวน
- ระยะนี้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน
- สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เช่น ทุเรียน เกษตรกรควรให้น้ำ อย่างเหมาะสม เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
- สภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง ยางพาราที่อยู่ในระยะพลัดใบ ชาวสวนควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวน
- ระยะนี้น้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74