พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 01 เมษายน 2556 - 07 เมษายน 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday April 2, 2013 07:09 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 01 เมษายน 2556 - 07 เมษายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1-2 และ 6-7 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ บริเวณด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 1-2 และ 6-7 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับขึ้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง สำหรับไม้ผลซึ่งอยู่ในระยะให้ผลผลิต เช่น ลิ้นจี่และลำไย ชาวสวนควรผูกโยงหรือค้ำยันกิ่งและลำต้นให้แข็งแรง ตลอดจนระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ไว้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 1-2 และ 6-7 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 3-5 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 1-2 และ 6-7 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตราย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง หรือเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ ตลอดจนป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
  • ระยะนี้จะมีอากาศร้อนและแสงแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และควรดื่มน้ำให้บ่อยครั้ง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 1- 2 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร อาคารบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง
  • สภาพอากาศร้อนและร้อนจัด ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน รวมทั้งควรจัดหาน้ำให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 1-2 และ 6-7 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 1-2 และ 6-7 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ชาวสวนผลไม้ควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้แข็งแรงเพื่อป้องกันความเสียหายเมื่อมีลมแรง
  • สภาพอากาศที่แห้งและมีฝนตกน้อย ชาวสวนควรดูแลให้น้ำแก่พืชในปริมาณที่เหมาะสม และคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อสงวนความชื้นในดิน รวมทั้งควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
  • ฝั่งตะวันตกอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
  • ระยะนี้อากาศร้อนและมีแสงแดดจัด ทำให้น้ำระเหยสูญเสียไปมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งหมั่นกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากพืช
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยเก็บกวาดเศษใบไม้แห้งที่ร่วงหล่น และทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ