พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 03 เมษายน 2556 - 09 เมษายน 2556

ข่าวทั่วไป Thursday April 4, 2013 06:40 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 03 เมษายน 2556 - 09 เมษายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-6 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันอุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ บริเวณด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

-เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในระยะนี้ เกษตรกรควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

-เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และอาคารบ้านเรือน

  • เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆในพืชไร่ไม้ผลและพืชผักในระยะนี้ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-5 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-9 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ทางด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-สำหรับอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างสูงสุดและต่ำสุด เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน

-ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวหน้าดิน

-ระยะนี้จะมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ แต่ปริมาณยังไม่มาก และการกระจายยังไม่ทั่วถึง เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชควรรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอแล้วจึงค่อยลงมือปลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในระยะเจริญเติบโต

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 3-6 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูร้อน

-ระยะนี้เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำแก่พืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง และควรให้น้ำพืชในช่วงเย็นเพื่อลดการระเหยของน้ำ

-ในช่วงที่สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน ตลอดจนโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร และควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังจากจุดไฟเพื่อใช้งาน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 3-5 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-9 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

-เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

-สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม ถ้าได้รับน้ำไม่เพียงพอจะ ทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต หากขาดน้ำจะทำให้ผล ร่วงหล่น ผลผลิตลดลง

-เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

-สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก หากเห็นดอกชัดเจนแล้ว เกษตรกรจึงเริ่มให้น้ำ โดยให้น้ำครั้งละน้อยๆ แล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น เพราะหากขาดน้ำในช่วงออกดอกจะทำให้ดอกร่วงหล่นการติดผลลดลง

-ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และอาคารบ้านเรือน

  • เนื่องจากอากาศที่ร้อนและแห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชสวนและไม้ผล

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร

-ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และอาคารบ้านเรือน

  • เนื่องจากอากาศที่ร้อนและแห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชสวนและไม้ผล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ