พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 19 เมษายน 2556 - 25 เมษายน 2556

ข่าวทั่วไป Monday April 22, 2013 07:11 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 19 เมษายน 2556 - 25 เมษายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณไม่มาก สภาพอากาศโดยทั่วไปยังคงร้อนและแห้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย เกษตรกรควรเก็บกวาดเศษใบไม้หรือหญ้าแห้งภายในสวนให้โล่งเตียน และทำแนวกันไฟไว้ด้วย
  • สำหรับไม้ผลที่กำลังให้ผลผลิต ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ รวมทั้งคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชเพื่อสงวนความชื้นในดิน นอกจากนี้ควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ฝนที่ตกในระยะนี้จะมีการกระจายและปริมาณไม่มาก เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้เพียงพอตลอดช่วงแล้ง
  • ในช่วงที่มีอากาศร้อน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดหาน้ำให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ รวมทั้งดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันสัตว์เครียด ซึ่งจะทำให้เจ็บป่วยได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร อาคารบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงด้วย
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนที่ตกแต่ปริมาณไม่มาก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลให้ปริมาณน้ำเหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำไม่ให้หนาแน่นเกินไป และให้อาหารในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 19-20 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะที่ผ่านมามีฝนตกหลายพื้นที่ ประกอบกับระยะนี้จะยังคงมีฝนตกต่อไปอีก ซึ่งจะช่วยให้อากาศคลายความร้อนและบรรเทาความแห้งแล้ง บริเวณที่มีฝนตกเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
  • ในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย.จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงได้บางพื้นที่ ชาวสวนควรผูกยึดหรือค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลที่รับน้ำหนักมากให้แข็งแรง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 19-21 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. - ทางตอนบนของฝั่งตะวันออกจะยังคงมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรจัดหาน้ำเพิ่มเติมให้แก่พืช รวมทั้งคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อสงวนความชื้นในดิน - ในช่วงวันที่ 22-25 เม.ย. ทางตอนล่างของฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่กำลังเจริญเติบโตและไม้ผลที่กำลังให้ผลผลิต บริเวณที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในช่วงที่ขาดแคลน - ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะเริ่มมีฝนเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ