พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง ระหว่าง 08 พฤษภาคม 2556 - 14 พฤษภาคม 2556

ข่าวทั่วไป Thursday May 9, 2013 06:49 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 08 พฤษภาคม 2556 - 14 พฤษภาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตะวันออกของภาค อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากทางตะวันตกของภาค อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรจึงควรดูแลสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากปรับตัวไม่ทัน
  • สำหรับเกษตรกรที่ตากผลผลิตของพืชไร่ เช่น ยาสูบ และถั่วต่างๆ ควรระวังความเสียหายจากฝนและลมกระโชกแรงไว้ด้วย
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนน้อย ชาวสวนควรดูแลให้น้ำแก่ไม้ผลที่กำลังให้ผลผลิตอย่างเพียงพอ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-9 และ 13-14 พ.ค.มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร
  • ฝนที่ตกในระยะนี้มีปริมาณไม่มากและการกระจายยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ เกษตรกรจึงควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืช รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง ส่วนมากด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค.ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี่ยงสัตว์ควรควบคลุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะต่อไปจะเข้าสู่ฤดูฝน ดังนั้นเกษตรกรที่จะปลูกพืช ควรจัดเตรียมระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดน้ำขังในบริเวณแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผลที่กำลังให้ผลผลิต
  • ส่วนระยะต่อไปจะเข้าสู่ฤดูฝน ชาวสวนผลไม้ในที่ลุ่มควรจัดทำทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้น ป้องกันโรครากเน่าและโคนเน่า

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 12-14 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
  • ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 10-14 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
  • ระยะนี้ทางฝั่งตะวันออกจะมีฝนไม่มาก โดยเฉพาะทางตอนบน เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืช รวมทั้งคลุมดินบริเวณโคนต้นพืช เพื่อสงวนความชื้นในดิน
  • ระยะต่อไปทางฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรควรตรวจสอบและดูแลอุปกรณ์สำหรับระบายน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  • ในช่วงวันที่ 9-14 พ.ค. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ