พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 พฤษภาคม 2556 - 02 มิถุนายน 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday May 28, 2013 07:24 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 พฤษภาคม 2556 - 02 มิถุนายน 2556

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตอนบนและด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชผักในระยะนี้ควรเตรียมดินและ ยกร่องแปลงปลูกให้สูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อราก่อนปลูก
  • สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง สวนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่นลิ้นจี่ เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ค.-2 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้มีฝนตกชุก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในที่ชื้นแฉะ รวมทั้งซ่อมแซมโรงเรือนไม่ให้ฝนสาดและอับชื้น เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดโรคไหม้ในต้นกล้า ไม่ควรหว่านกล้าให้หนาแน่นเกินไป
  • สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชไร่รุ่นใหม่ในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุกเมล็ดพันธุ์หรือชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงเริ่มต้นฤดูฝน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับเกษตรกรในที่ลุ่มที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรยกร่องแปลงปลูกให้สูง รวมทั้งเตรียมทำทางระบายน้ำเอาไว้เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนักในระยะต่อไป

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 27-28 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ค. -2 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง พื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ
  • สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง สวนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่นเงาะ ทุเรีย มังคุด และลองกอง เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สำหรับชาวสวนยางพารา และชาวสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ในช่วงที่มีฝนหนัก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรกั้นขอบบ่อเลี้ยงให้สูงเพื่อป้องกันน้ำหลากเข้าท่วมบ่อเลี้ยงทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 27- 31 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนมากทางตอนบน

  • ระยะนี้ ทางฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำขังบริเวณที่ลุ่มได้ เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก
  • สำหรับชาวสวนยางพารา และชาวสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ในช่วงที่มีฝนหนัก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรกั้นขอบบ่อเลี้ยงให้สูงเพื่อป้องกันน้ำหลากเข้าท่วมบ่อเลี้ยงทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ช่วงนี้ บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ