พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 29 พฤษภาคม 2556 - 04 มิถุนายน 2556

ข่าวทั่วไป Thursday May 30, 2013 06:57 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 29 พฤษภาคม 2556 - 04 มิถุนายน 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 29 พ.ค.- 1 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงเริ่มต้นฤดูฝน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้
  • ในระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณยังไม่เพียงพอ ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เช่นลำไย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากขาดน้ำในระยะนี้จะทำให้ การเจริญเติบโตทางผลชะงัก หรือหลุดร่วงได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 29 พ.ค. - 1 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากด้านตะวันออกของภาค ส่วนวันที่ 2 - 4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก เฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้จะมีฝนตกชุกโดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของภาค เกษตรกรที่ปลูกข้าวควรระวังและป้องกันโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคไหม้ ซึ่งมักระบาดในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำภายในบ่ออย่าให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับ กั้นขอบบ่อเลี้ยงเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีฝนตกหนัก

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 29 พ.ค.- 1 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 4 มิ.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงต้นฤดูฝนสภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพของตนเองและสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกั้นขอบบ่อเลี้ยงเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณยังไม่เพียงพอ เกษตรกรที่ปลูก พืชไร่ควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสมรวมถึงควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูดโดยเฉพาะเพลี้ยชนิดต่าง ๆ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 29 พ.ค.และวันที่ 4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 30 พ.ค.- 3 มิ.ย.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 3 -4 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง

  • ในระยะต่อไปปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกโดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ในที่ลุ่ม เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับชาวสวนผลไม้และชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 30-31 พ.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 3-4 มิ.ย. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น ชาวสวนผลไม้และชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรกั้นขอบบ่อเลี้ยงให้สูงเพื่อป้องกันน้ำหลากเข้าท่วมบ่อเลี้ยงทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 30-31 พ.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 29 พ.ค.- 1 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 2 - 4 มิ.ย.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ระยะนี้ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น ชาวสวนผลไม้และชาวสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรกั้นขอบบ่อเลี้ยงให้สูงเพื่อป้องกันน้ำหลากเข้าท่วมบ่อเลี้ยงทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ในช่วงวันที่ 2-4 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ